Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดน่าน

ปี 2552 ไตรมาส 4

pll_content_description

บทสรุปผู้บริหาร
สภาพทั่วไป  
ในช่วงปลายเดือนตุลาคมอากาศจะเริ่มเย็นเข้าสู่ฤดูหนาวและอากาศจะหนาวเย็นมากสุดในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม   มีหมอกปกคลุมในตอนเช้าและตอนกลางคืน ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวในจังหวัดน่านเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตามอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ   เพื่อชมความสวยงามของธรรมชาติ พืชพรรณไม้นานาชนิด   อาทิ ดอกชมพูภูคา    ดอกพญาเสือโคร่ง(ซากุระเมืองไทย)   รวมถึงวิถีชีวิตของคนเมืองน่าน   ประชาชนส่วนใหญ่เข้าสู่การเก็บเกี่ยวข้าวนาปีและเตรียมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งโดยเฉพาะ        ถั่วเหลืองเนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยกว่าพืชชนิดอื่น
 
สภาพเศรษฐกิจ   
จังหวัดน่านมีมูลค่าผลิตภัณฑ์  ณ ปี 2551 เท่ากับ 24,263 ล้านบาท มีรายได้ต่อหัวต่อปี 49,827   บาท   และในไตรมาสที่   4    ปี 2552 ได้มีการจดทะเบียนสถานประกอบการ จำนวน 25 ราย มีทุนจดทะเบียน   51.45  ล้านบาท  ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการก่อสร้าง   ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.6 ดัชนีหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3 ปัจจัยสำคัญมาจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร
 
สถานการณ์ด้านแรงงาน
กำลังแรงงาน   ผลการสำรวจภาวการณ์ทำงานไตรมาสที่ 4 มีประชากรวัยทำงาน(อายุ 15 ปีขึ้นไป) 398,347 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน   295,357 คน ผู้มีงานทำ 291,825 คน  
ผู้ว่างงาน 3,465 คน   รอฤดูกาล   68 คน เป็นผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 102,990 คน   จำแนกเป็น ทำงานบ้าน 27,055 คน   เรียนหนังสือ 41,946 คน   อื่นๆ 33,989 คน 
การมีงานทำ   ผู้มีงานทำจังหวัดน่านทำงานในภาคเกษตร 159,360 คน   ทำงานนอกภาคเกษตร    132,465 คน   ผู้มีงานทำจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมนอกภาคเกษตรส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขายส่ง ขายปลีกฯ มากที่สุด 24,993 คน ร้อยละ 8.56   รองลงมาสาขาการผลิต   22,789 คน   และสาขาก่อสร้าง   19,550 คน    ร้อยละ 6.70    เมื่อจำแนกตามอาชีพส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านเกษตรและประมง   143,550 คน   ร้อยละ   49.19    รองลงมาอาชีพ   ขั้นพื้นฐาน 35,981 คน     ร้อยละ   12.33 และพนักงานบริการในร้านค้าและตลาด   35,419 คน      ร้อยละ 12.14    และผู้มีงานทำส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา 121,976 คน หรือร้อยละ 30.62
การว่างงาน มีประชากรของจังหวัดน่านว่างงานทั้งสิ้น 3,465 คน หรือร้อยละ 1.17 ของผู้อยู่ในกำลังแรงาน
การส่งเสริมการมีงานทำ
การจัดหางานในประเทศ นายจ้างได้แจ้งตำแหน่งงานว่างจำนวน 545 อัตรา   มีผู้สมัครงาน   669 คนและมีผู้ได้รับการบรรจุ 418 คน   ตำแหน่งงานว่างจำแนกตามระดับการศึกษา
ส่วนใหญ่เป็นวุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า   จำนวน   220 อัตรา ร้อยละ 40.37   ระดับมัธยมศึกษาร้อยละ   174 อัตรา ร้อยละ 31.93     ส่วนผู้ได้รับการบรรจุงานส่วนมากเป็นระดับมัธยมศึกษา 228 อัตรา ร้อยละ 54.55 อาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุดคืออาชีพงานพื้นฐาน   199 คน   รองลงมาผู้ปฏิบัติงานมีฝีมือด้านเกษตรและประมง
แรงงานไทยในต่างประเทศ    มีผู้แจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ 91 คน   ผู้แจ้งความประสงค์ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษามัธยมศึกษาร้อยละ 59.34    รองลงมาระดับประถมศึกษาร้อยละ 23.08    และแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศมีจำนวน   94 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการเดินทางไปทำงานโดยการต่อสัญญา (Re-Entry) 91 คน หรือร้อยละ 96.81
แรงงานต่างด้าว จังหวัดน่านมีแรงงานต่างด้าวถูกกกหมาย 159 คน ส่วนใหญ่เป็นการอนุญาตให้เข้ามาทำงานประเภทชั่วคราว 75 คน รองลงมาประเภทชั่วคราว(MOU)พิสูจน์สัญชาติ 59 คน     มาตรา 12 ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี 25 คน   แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2549 จำนวน 707 คน ส่วนใหญ่เป็นสัญชาติลาว 620 คน    รองลงมาพม่า   79 คน กัมพูชา 8 คน
 
การพัฒนาศักยภาพแรงงาน
   การพัฒนาฝีมือแรงงาน ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดน่านได้มีการดำเนินการพัฒนาฝีมือหลักสูตรเตรียมเข้าทำงานโดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 111 คน   และสาขาที่มีผู้เข้ารับการฝึกมากที่สุดคือสาขาช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์   จำนวน 40 คน   รองลงมาสาขาธุรกิจและบริการ 32 คน 
 
การคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ
การคุ้มครองแรงงาน    จากการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 34 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด   1 – 4 คนมากที่สุดจำนวน   16 แห่ง   มีลูกจ้างผ่านการตรวจ 206 คนปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย 22 แห่ง ร้อยละ 64.71   ปฏิบัติไม่ถูกต้อง 12   แห่ง   ร้อยละ 35.29 ส่วนใหญ่ทำผิดในเรื่องการจ่ายค่าจ้างและเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ
 
การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน     มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการ 16 แห่ง มีลูกจ้างผ่านการตรวจ 213 คน   ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการก่อสร้าง 7 แห่ง    รองลงมาอุตสาหกรรมการขายส่ง ขายปลีก 5 แห่ง   และมีสถานประกอบการปฏิบัติไม่ถูกต้องในเรื่องความปลอดภัย 1 แห่ง   ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำในการปฏิบัติ
การประกันสังคม
จังหวัดน่านมีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทน 1,014   แห่ง มีลูกจ้าง 6,763 คน   ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการขายส่ง   ขายปลีก มากที่สุด   348 แห่ง   รองลงมาการผลิต   268 แห่ง   มีผู้ใช้บริการกองทุนเงินทดแทนเนื่องจากการทำงานจำนวน 8 คน   มีการจ่ายเงินกองทุนเงินทดแทน จำนวน 12,076.20 บาท
สำหรับสถานประกอบการที่อยู่ในข่ายกองทุนประกันสังคมมีจำนวน 1,482 แห่ง มีลูกจ้าง   11,718 คน   มีการใช้บริการกองทุนประกันสังคม   2,622 คน ส่วนใหญ่เป็นการใช้บริการกรณีเจ็บป่วยมากที่สุดจำนวน   1,402   คน   มีการจ่ายเงินตามประเภทประโยชน์ทดแทนทั้งสิ้น    14,653,897.05   บาท
 
การคาดประมาณการกำลังแรงงาน
ในปี 2553   มีความต้องการกำลังแรงงานจำแนกตามระดับฝีมือจำนวน 7,556 คน   ซึ่งคาดว่าส่วนใหญ่เป็นแรงงานกึ่งฝีมือมากที่สุด   จำนวน 2,805   คน   รองลงมาแรงงานไร้ฝีมือ 1,938   คน สำหรับคาดการภาวะจ้างงานกำลังแรงงานในปี 2553   จะมีการจ้างงานทั้งสิ้น 273,536 คน   โดยจะอยู่ในภาคเกษตรกรรม   149,676 คน   อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 41,405 คน   ภาคบริการ 82,455 คน   โดยในอุตสาหกรรมนอกภาคเกษตรจะอยู่ในภาคบริการอื่น ๆ จำนวน   30,959 คน   รองลงมาขายส่ง ขายปลีกฯ   27,827  คน 
การคาดการกำลังแรงงานในปี 2553 คาดว่าจะมีวุฒิการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่าจำนวน 176,162 คน   มัธยมศึกษา   32,568 คน ส่วนใหญ่อยู่ในอาชีพผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านเกษตรและประมงจำนวน 141,074   คน   รองลงมาพนักงานบริการในร้านค้าและตลาด 29,838 คน
ในส่วนความต้องการแรงงานส่วนเพิ่มในปี 2553 คาดว่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากที่สุด จำนวน 1,602 คน   รองลงมาอุตสาหกรรมการขายส่ง ขายปลีก 1,447 คน โดยส่วนใหญ่เป็นอาชีพผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านเกษตรและประมง   2,141 คน และสถานประกอบการยังมีความต้องการแรงงานในวุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษาสูงถึง 4,553 คน
 
 
TOP